ท่องเที่ยวเชียงราย
วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ประวัติเมืองเชียงราย
ประวัติเมืองเชียงราย
|
เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออกพลัดหายไป พญามังราย จึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธี ได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ ขึ้นในที่นั่น ให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า “เวียงเชียงราย” ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นสีม่วงของ วันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด จากการศึกษาด้านตำนานพื้นเมืองต่าง ๆ นักวิชาการท้องถิ่นของเชียงรายกล่าวว่าเรื่องราวเกี่ยวด้วยเรื่องการตั้งอาณาจักรต่าง ๆ ที่เป็นดินแดนของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบันนั้นได้ปรากฏในพงศาวดารเหนือ เป็นหนังสือคัมภีร์ใบลาน ตัวหนังสืออักษรธรรมล้านนา ตำนานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน บางแห่งเรียกว่า ตำนานโยนกนครราชธานี ไชยบุรีศรีช้างแสง เช่น ตำนานสิงหนวัติ เป็นต้น แต่ละเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโยนกทั้งสิ้น จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพงสาวดารโยนก อีกประการหนึ่งจะเกี่ยวพันกับอาณาจักรโบราณต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน |
ตามแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยในหลายความคิด ได้มีความเชื่อว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยนั้นน่าจะอยู่ทางประเทศจีนมาก่อน ในยุคที่ชนชาติไทยเรากำลังหนีจีนมาตั้งนครหลวงอยู่ที่แคว้นเมาและหนองแสนั้น ถิ่นที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายนี้เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวเขาพวกหนึ่งเรียกว่า “ลัวะ” (หรือลังวะ หรือละว้า) และชาวป่าพวกอื่นอาศัยอยู่
ครั้งนั้น ราว พ.ศ. 50 ไทยเผ่าหนึ่งเรียกว่า อ้ายลาว ตั้งอาณาจักรอยู่ที่นครปา ถูกจีนรุกรานหนักเข้า จึงอพยพมาตั้งอยู่บริเวณเมืองเล็ม เชียงรุ้ง เชียงลาว ริมแม่น้ำสาย ตั้งราชวงศ์ขึ้นปกครองสืบต่อกันมาจนถึงสมัย ลวจักราช จึงได้ลงมาตั้งเมืองที่ตำบลยางเสี่ยวใกล้ดอยตุง เรียกว่า เชียงลาว
ราวพุทธศตวรรษที่ 5 มีพวกไทยถอยร่นจากจีนตอนใต้ มาสมทบไทยที่เมืองเชียงลาวมากขึ้นทุกที จึงได้ขยายเมืองให้กว้างขวางขึ้นอีก เรียกว่า แคว้นยุนซาง หรือยวนเซียง มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (อำเภอเวียงป่าเป้าในปัจจุบันนี้) เวียงฮ่อ ดงเวียง เวียงวัง แจ้ห่ม เชียงแสน ทั้งนี้ภายหลัง พ.ศ. 590 เป็นต้นมา
ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 11 ขอมมีอำนาจถึงอาณาจักรโครตบูรณ์ จึงยกเข้ามาตีแคว้นยวนเซียง ขับไล่ชาวไทย แล้วตั้งเมืองขึ้นที่เชียงแสน เรียกว่า สุวรรณโคมคำ บริเวณที่เคยเป็นเมืองเชียงลาว ใกล้ฝั่งน้ำโขง และได้สร้างเมือง อุมงคเสลา ที่เมืองฝาง ต้นลำน้ำกก อาณาเขตสุวรรณโคมคำของขอมครั้งนั้น ทิศเหนือจดถึงเมืองหนองแส ทิศใต้จนฝายนาค (ลีผี) ตะวันออกถึงแม่น้ำแตก (แม่น้ำแท้) ทิศตะวันตกถึงแม่น้ำตู แต่ขอมปกครองไทยอย่างป่าเถื่อนและทารุณจนไทยเราอพยพจากเมืองสุวรรณโคมคำกระจัดกระจายไปอีก ขอมจึงย้ายไปตั้งเมืองอุมงคเสลา (เมืองฝางในปัจจุบัน) ทิ้งให้เมืองสุวรรณโคมคำร้างไว้)
เจ้าสิงหนวัติกุมาร โอรสพระเจ้าเทวกาล กษัตริย์เมืองหนองแส เป็นชั้นหลานปู่ของขุนบรม ได้อพยพคนไทยประมาณแสนครัวจากหนองแส (ตาลิฟู) ลงมาสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น แล้วขนานนามว่า เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร ภายหลังเรียกสั้น ๆ ว่า นาเคนทร์นคร, นาคบุรี, โยนกนาคนคร และโยนกนครหลวง เป็นต้น (คือเมืองเชียงแสนในปัจจุบัน)
พระเจ้าสิงหนวัติครองราชย์สมบัติในโยนกนครหลวงได้ 52 ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1367 มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายองค์ องค์ที่สำคัญ ๆ เช่น รัชกาลที่ 3 พระเจ้าอชุตราช ผู้สร้างมหาสถูปดอยตุง ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงรายและล้านนาไทย
รัชกาลที่ 4 พระเจ้ามังรายนราช (โอรสพระเจ้าอชุตราช) พระองค์มีโอรส 2 พระองค์ องค์ใหญ่มีพระนามว่า พระองค์เชือง องค์เล็กมีพระนามว่า ไชยนารายณ์ รัชกาลที่ 5 พระองค์เชือง (ราชโอรสพระเจ้ามังรายนราช ครองเมืองโยนกนครหลวงต่อมา)
ส่วนโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้ามังรายนราช มีพระนามว่า พระองค์ไชยนารายณ์ ซึ่งเป็นพระองค์น้อง ได้ไปสร้างเมืองใหม่ที่ตำบลดอนมูล ริมแม่น้ำลาว (น้ำกาหลง) เรียกว่าเมืองไชยนารายณ์
รัชกาลที่ 4 พระเจ้ามังรายนราช (โอรสพระเจ้าอชุตราช) พระองค์มีโอรส 2 พระองค์ องค์ใหญ่มีพระนามว่า พระองค์เชือง องค์เล็กมีพระนามว่า ไชยนารายณ์ รัชกาลที่ 5 พระองค์เชือง (ราชโอรสพระเจ้ามังรายนราช ครองเมืองโยนกนครหลวงต่อมา)
ส่วนโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้ามังรายนราช มีพระนามว่า พระองค์ไชยนารายณ์ ซึ่งเป็นพระองค์น้อง ได้ไปสร้างเมืองใหม่ที่ตำบลดอนมูล ริมแม่น้ำลาว (น้ำกาหลง) เรียกว่าเมืองไชยนารายณ์
พระองค์ไชยนารายณ์ ได้ครองเมืองไชยนารายณ์ และมีกษัตริย์สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนถึงองค์ที่ 27 มีพระนามว่า พระองค์พังคราช ชาติไทยได้อ่อนกำลังลง ขอมซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอุมงคเสลา ได้ยกทัพเข้าตีเมืองโยนกนาคนคร พระองค์พังคราชหนีไปอยู่เวียงสีทวง แต่นั้นมาไทยก็เป็นเมืองขึ้นของขอมเรื่อยมา ใน พ.ศ. 1461 พระมเหสีก็ได้ประสูติพระโอรส มีพระนามว่า เจ้าทุกขิตกุมาร และต่อมา พ.ศ. 1436 พระมเหสีก็ประสูติเจ้าพรหม กุมารอีกพระองค์หนึ่ง
ครั้งเจ้าพรหมกุมารมีพระชนมายุ 17 พรรษา ทรงแกล้วกล้าในการรบพุ่ง อย่างยิ่ง ได้ขับไล่ขอมจนสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 1479 แล้วเชิญพระราชบิดาไปครองเมืองโยนกนาคนครต่อไป เจ้าพรหมกุมารตีได้เมืองอุมงคเสลาซึ่งมีอำนาจร่วม 500 ปีแตก ขับไล่ขอมจนถึงเมืองหริภุญไชย และเมืองกำแพงเพชรจนหมดสิ้นเชื้อชาติขอมในอาณาจักรโยนก พระองค์สร้างเมืองอุมงคเสลาขึ้นใหม่ ขนานนามว่า เมืองไชยปราการ ในปี พ.ศ. 1479 นั้นเอง อนึ่ง เมืองโยนกนาคนครก็เปลี่ยนนามใหม่ว่า เวียงไชยบุรี เพื่อระลึกถึงชัยชนะของพระองค์
พระเจ้าพรหมนครองเมืองไชยปราการต่อมา เสด็จสวรรคต พ.ศ. 1582 ก็ได้เสียเมืองให้แก่ขุนเสือขวัญฟ้า (บางฉบับก็ว่าพระยาสุธรรมวดี) แม้กษัตริย์ที่เมืองนครไชยบุรีและนครไชยนารายณ์จะยกทัพมาช่วยก็สู้ข้าศึกไม่ได้ พระเจ้าไชยศิริจึงรับสั่งให้เผาเมือง แล้วอพยพผู้คนพลเมืองหนีมาทางใต้ ไปตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทองเพื่อตั้งตัวต่อไป
ยังมีกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่า ลาวจก หรือลาวจง ปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จังกราช (คำว่า ลว เป็นชื่อราชวงศ์ ไม่ใช่ลัวะหรือละว้าซึ่งเป็นชื่อชาวป่าชาวเขา) ซึ่งครองเมืองเชียงลาว (แคว้นจก) ได้ขยายอำนาจมาจนถึงเมืองเงินยาง จนรวบรวมบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้วได้ขนานนามเมืองว่า หิรัญนครเงินยาง และมีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ที่ได้กล่าวมานี้ เป็นสังเขปประวัติความเป็นมาก่อนสร้างเมืองเชียงราย นับเป็นประวัติความเป็นมาของชาติไทยในดินแดนภาคเหนือ อันมีนครโยนกเป็นราชธานีตามการศึกษาจากตำนานพื้นเมือง
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบางยุคบางสมัยในดินแดนเหล่านี้ บางครั้งก็มีความคลาดเคลื่อนกันไป ทั้งทางด้านสถานที่ หรือด้านของเวลา จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนว่าหลักฐานใดถูกต้อง สำหรับอาณาจักรโบราณและเมืองต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ที่ปรากฏในตำนานหรือพงศาวดารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น พอจะแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้
1. ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน
2. ยุคหิรัญนครเงินยาง
3. ยุคเชียงราย (มังราย)
4. ยุคพันธุมติรัตนอาณาเขต
1. ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน
2. ยุคหิรัญนครเงินยาง
3. ยุคเชียงราย (มังราย)
4. ยุคพันธุมติรัตนอาณาเขต
ความเป็นมาของตุงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อ
น้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาส
จังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของ
นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้
แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อ
น้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาส
จังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของ
นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้
ตุงผืนที่ ๑
ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี
รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก
ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี
รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก
ตุงผืนที่ ๒
ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง”จากแผ่นดิน - สู่แผ่นฟ้า”
ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค ซึ่งหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน ดอกบัว และแสดงถึงทรงเป็นนักปฎิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง บนสุดเป็นตราสัญลักษณ์ 6 รอบ ล้อมด้วยเปลวกนกที่โพยพุ่งไปสู่ความสว่าง คือ พระนิพพาน
ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง”จากแผ่นดิน - สู่แผ่นฟ้า”
ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค ซึ่งหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน ดอกบัว และแสดงถึงทรงเป็นนักปฎิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง บนสุดเป็นตราสัญลักษณ์ 6 รอบ ล้อมด้วยเปลวกนกที่โพยพุ่งไปสู่ความสว่าง คือ พระนิพพาน
ตุงผืนที่ ๓
ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล
ภาพโดยรวมของตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดี พลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงรายในโอกาสข้างหน้า เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม
ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล
ภาพโดยรวมของตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดี พลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงรายในโอกาสข้างหน้า เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม
ตราสัญลักษณ์,คำขวัญ
คำขวัญของจังหวัดเชียงราย
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
ตราสัญลักษณ์จังหวัดเชียงราย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย ชื่อดอกไม้ ดอกพวงแสด ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Pyrostegia Venusta (ker) Miers วงศ์ : Bignonia Ceae ลักษณะชนิดพันธุ์ไม้ : ไม้เลื้อยต่างประเทศ ชื่ออื่น ๆ : Orange trumpet, Flane Flower, Fire – Cracder Vine | |
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงรายชื่อพันธุ์ไม้ กาสะลองคำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis วงค์ Dignoniaceae ชื่ออื่น ๆ ปีบทอง, แคเป๊าะ, สำเภาหลามต้น, สะเภา, อ้อยช้าง, จางจืด |
ข้อมูลลักษณะที่ตั้ง อาณาเขต
สภาพภูมิศาสตร์
1.1 ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง
20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 785 กิโลเมตร
จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง
20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 785 กิโลเมตร
1.2 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดพะเยาและลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและจังหวัดเชียงใหม่
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดพะเยาและลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและจังหวัดเชียงใหม่
แนวเขตชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ด้านอำเภอแม่จัน แม่สาย แม่ฟ้าหลวง และเชียงแสน รวม 130 กิโลเมตร แยกเป็นแนวภูเขา 100 กิโลเมตร แนวแม่น้ำสาย 10 กิโลเมตร และแนวแม่น้ำรวก 20 กิโลเมตร
แนวเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระยะทาง 180 กิโลเมตร โดยเป็นแนวแม่น้ำโขง 90 กิโลเมตร และแนวภูเขา 94 กิโลเมตร
แนวเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระยะทาง 180 กิโลเมตร โดยเป็นแนวแม่น้ำโขง 90 กิโลเมตร และแนวภูเขา 94 กิโลเมตร
1.3 สภาพภูมิประเทศ เชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย เวียงป่าเป้า และเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500 - 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน เมือง แม่จัน แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ มีความสูงประมาณ 410 - 580 เมตร จากระดับน้ำทะเล 1.4 สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ในห้วงปี 2544 – 2548 จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 33.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2544 และวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ฝน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 มกราคม 254 |
1.5 ป่าไม้
พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีทั้งสิ้น 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่
ในปี 2542 มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 2,365,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.5.1 อุทยานแห่งชาติ (National Park) มีอยู่ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง เนื้อที่ 731,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพาน แม่สรวย เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา อำเภอวังเหนือ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อุทยานแห่งชาติขุนแจ มีเนื้อที่ 168,750 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อุทยานแห่งชาติภูซาง เนื้อที่ 178,050 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงคำและกิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา อุทยานแห่งชาติแม่ปืม มีเนื้อที่ 227,312 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอพาน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย, อำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง กิ่งอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีเนื้อที่ 467,185 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ลาว อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
1.5.2 วนอุทยาน (Forest Park) เป็นแหล่งธรรมชาติที่รัฐจัดไว้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ของประชาชน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด ในจังหวัดเชียงรายมีวนอุทยานทั้งหมด 10 แห่ง คือ
พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีทั้งสิ้น 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่
ในปี 2542 มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 2,365,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.5.1 อุทยานแห่งชาติ (National Park) มีอยู่ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง เนื้อที่ 731,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพาน แม่สรวย เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา อำเภอวังเหนือ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อุทยานแห่งชาติขุนแจ มีเนื้อที่ 168,750 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อุทยานแห่งชาติภูซาง เนื้อที่ 178,050 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงคำและกิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา อุทยานแห่งชาติแม่ปืม มีเนื้อที่ 227,312 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอพาน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย, อำเภอแม่ใจ อำเภอเมือง กิ่งอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีเนื้อที่ 467,185 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ลาว อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
1.5.2 วนอุทยาน (Forest Park) เป็นแหล่งธรรมชาติที่รัฐจัดไว้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ของประชาชน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด ในจังหวัดเชียงรายมีวนอุทยานทั้งหมด 10 แห่ง คือ
1. วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีเนื้อที่ 5,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยนางนอน ท้องที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
2. วนอุทยานดอยหัวแม่คำ มีเนื้อที่ 3,500 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่คำ
ป่าน้ำแม่สลอง และป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้าย ท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
3. วนอุทยานน้ำตำตาดควัน มีเนื้อที่ 2,100 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสัก และป่าแม่กกฝั่งขวา และป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยหลวง ป่าน้ำยาว และป่าน้ำซ้อ ท้องที่อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
4. วนอุทยานน้ำตกแม่โท มีเนื้อที่ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปูนน้อย ป่าแม่ปูนหลวง และป่าห้วยโป่งเหม็น ท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
5. วนอุทยานภูชี้ฟ้า มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว ท้องที่อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
6. วนอุทยานสันผาพญาไพร มีเนื้อที่ 3,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่คำ ป่าน้ำแม่สลอง และป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้าย ท้องที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
7. วนอุทยานน้ำตกวังธารทอง มีเนื้อที่ 8,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ท้องที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
8. วนอุทยานดอยพระบาท มีเนื้อที่ 3,000 ไร่ อยู่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสัก และป่าแม่กกฝั่งขวา ท้องที่กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
9. วนอุทยานน้ำตกห้วยแม่สัก มีเนื้อที่ 2,800 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสัก และป่าแม่กกฝั่งขวา ท้องที่กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
10. วนอุทยานพญาพิภักดิ์ มีเนื้อที่ 3,750 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าป่าแดง และป่าห้วยป่าตาล และป่าห้วยไคร้ ท้องที่อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
1.5.3 สวนรุกชาติ (Arboretum) จังหวัดเชียงรายมีสวนรุกชาติเพียงแห่งเดียว คือ สวนรุกชาติโป่งสลี อำเภอเมือง มีพื้นที่ 668.75 ไร่ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นป่าเดิมที่เหลืออยู่และมีการปลูกต้นไม้อื่นๆ แทรกบ้าง
1.5.4 ป่าสงวนแห่งชาติ (National Reserved Forest) จังหวัดเชียงรายมีป่าสงวนทั้งหมด 30 แห่ง
มีพื้นที่รวม 4,485,966 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.46 ของพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ จำนวน 3,525,896 ไร่ พื้นที่มอบ สปก. จำนวน 960,070 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 513,683 ไร่ ป่าเพื่อการเกษตร 425,832 ไร่ และพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ 20,555 ไร่
1.5.5 ป่าชุมชน (Community Forest) ป่าชุมชนเป็นป่าธรรมชาติที่ชาวบ้านได้ช่วยกันป้องกันรักษาเอาไว้สำหรับเป็นแหล่งซับน้ำและใช้สอย ปัจจุบันมีการสร้างป่าชุมชนขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ของชุมชน
1.5.6 เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีจำนวน 1 แห่ง คือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน มีพื้นที่ 2,711 ไร่
2. วนอุทยานดอยหัวแม่คำ มีเนื้อที่ 3,500 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่คำ
ป่าน้ำแม่สลอง และป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้าย ท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
3. วนอุทยานน้ำตำตาดควัน มีเนื้อที่ 2,100 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสัก และป่าแม่กกฝั่งขวา และป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยหลวง ป่าน้ำยาว และป่าน้ำซ้อ ท้องที่อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
4. วนอุทยานน้ำตกแม่โท มีเนื้อที่ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปูนน้อย ป่าแม่ปูนหลวง และป่าห้วยโป่งเหม็น ท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
5. วนอุทยานภูชี้ฟ้า มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว ท้องที่อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
6. วนอุทยานสันผาพญาไพร มีเนื้อที่ 3,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่คำ ป่าน้ำแม่สลอง และป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้าย ท้องที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
7. วนอุทยานน้ำตกวังธารทอง มีเนื้อที่ 8,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ท้องที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
8. วนอุทยานดอยพระบาท มีเนื้อที่ 3,000 ไร่ อยู่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสัก และป่าแม่กกฝั่งขวา ท้องที่กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
9. วนอุทยานน้ำตกห้วยแม่สัก มีเนื้อที่ 2,800 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสัก และป่าแม่กกฝั่งขวา ท้องที่กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
10. วนอุทยานพญาพิภักดิ์ มีเนื้อที่ 3,750 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าป่าแดง และป่าห้วยป่าตาล และป่าห้วยไคร้ ท้องที่อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
1.5.3 สวนรุกชาติ (Arboretum) จังหวัดเชียงรายมีสวนรุกชาติเพียงแห่งเดียว คือ สวนรุกชาติโป่งสลี อำเภอเมือง มีพื้นที่ 668.75 ไร่ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นป่าเดิมที่เหลืออยู่และมีการปลูกต้นไม้อื่นๆ แทรกบ้าง
1.5.4 ป่าสงวนแห่งชาติ (National Reserved Forest) จังหวัดเชียงรายมีป่าสงวนทั้งหมด 30 แห่ง
มีพื้นที่รวม 4,485,966 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.46 ของพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ จำนวน 3,525,896 ไร่ พื้นที่มอบ สปก. จำนวน 960,070 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 513,683 ไร่ ป่าเพื่อการเกษตร 425,832 ไร่ และพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ 20,555 ไร่
1.5.5 ป่าชุมชน (Community Forest) ป่าชุมชนเป็นป่าธรรมชาติที่ชาวบ้านได้ช่วยกันป้องกันรักษาเอาไว้สำหรับเป็นแหล่งซับน้ำและใช้สอย ปัจจุบันมีการสร้างป่าชุมชนขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ของชุมชน
1.5.6 เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีจำนวน 1 แห่ง คือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน มีพื้นที่ 2,711 ไร่
1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งแร่ที่พบในจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย
ทังสเตน แร่ทังสเตนเป็นแร่ที่พบในเทือกเขาด้านตะวันตกของจังหวัด ในเขตอำเภอแม่สรวย และเวียงป่าเป้า ซึ่งอาจเกิดเป็นแหล่งแร่อิสระเช่นซีไลท์และวุลแฟรม หรืออาจเกิดรวมกับแร่อื่น ๆ เช่น ดีบุก และพลวง
ดีบุกและพลวง แร่ทั้งสองประเภทเป็นแร่ในกลุ่มโลหะพื้นฐาน อาจเกิดร่วมกับแร่ทังสเตนมีอยู่มากในเทือกเขาด้านตะวันตก เช่นกัน แต่มีปริมาณและการผลิตน้อยกว่าทังสเตน
แมงกานีส เป็นแหล่งแร่ที่มีขนาดเล็ก เคยมีการผลิตในเขตอำเภอเทิง ปัจจุบันมีแปลงประทาน
ในเขตอำเภอพญาเม็งราย แต่ไม่มีการผลิต
ไพโรฟิลไลต์ และกัลก์ เป็นแร่ที่พบกระจายในเขตอำเภอเทิงและเชียงของ แต่ไม่มีการผลิต
ดินขาว และบอลเคลย์ เป็นแร่ที่พบกระจายในอำเภอเวียงป่าเป้า มีผลผลิตจำนวนน้อย ปัจจุบัน
ยังคงมีการผลิตบอลเคลย์จากเหมืองเพียงแห่งเดียว
หินปูนอุตสาหกรรม เป็นหินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ใช้ทำปูนขาวสำหรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง และอุตสาหกรรมน้ำตาล มีการผลิตหินปูนในเขตอำเภอเมืองและเวียงชัย
ทังสเตน แร่ทังสเตนเป็นแร่ที่พบในเทือกเขาด้านตะวันตกของจังหวัด ในเขตอำเภอแม่สรวย และเวียงป่าเป้า ซึ่งอาจเกิดเป็นแหล่งแร่อิสระเช่นซีไลท์และวุลแฟรม หรืออาจเกิดรวมกับแร่อื่น ๆ เช่น ดีบุก และพลวง
ดีบุกและพลวง แร่ทั้งสองประเภทเป็นแร่ในกลุ่มโลหะพื้นฐาน อาจเกิดร่วมกับแร่ทังสเตนมีอยู่มากในเทือกเขาด้านตะวันตก เช่นกัน แต่มีปริมาณและการผลิตน้อยกว่าทังสเตน
แมงกานีส เป็นแหล่งแร่ที่มีขนาดเล็ก เคยมีการผลิตในเขตอำเภอเทิง ปัจจุบันมีแปลงประทาน
ในเขตอำเภอพญาเม็งราย แต่ไม่มีการผลิต
ไพโรฟิลไลต์ และกัลก์ เป็นแร่ที่พบกระจายในเขตอำเภอเทิงและเชียงของ แต่ไม่มีการผลิต
ดินขาว และบอลเคลย์ เป็นแร่ที่พบกระจายในอำเภอเวียงป่าเป้า มีผลผลิตจำนวนน้อย ปัจจุบัน
ยังคงมีการผลิตบอลเคลย์จากเหมืองเพียงแห่งเดียว
หินปูนอุตสาหกรรม เป็นหินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ใช้ทำปูนขาวสำหรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง และอุตสาหกรรมน้ำตาล มีการผลิตหินปูนในเขตอำเภอเมืองและเวียงชัย
ศาสนา | ||
ประชากรส่วนใหญ่ของภาคเหนือนับถือพระพุทธศาสนาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ยกเว้นใน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมี ผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพียงประมาณร้อยละ ๘๗ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอยู่ติดดับประเทศพม่า จึงทำให้มีผู้นับถือศาสนา อื่นตามประชากรที่อยู่ใกล้ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์และอิสลามได้เข้ามาปะปนอยู่มากพอสมควร ชาวเหนือเป็นผู้มีประเพณีอันดีงามสืบเนื่องจากประเพณีในทางพระพุทธศาสนาที่ยังประพฤติปฎิบัติกันอยู่ จนตราบเท่าทุกวันนี้ และที่สำคัญได้แก่ ประเพณี สงกรานต์ |
แหล่งท่องเที่ยว
1.วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่สร้างและออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาและแรงมุ่งมั่น ที่จะรังสรรค์งานศิลปะที่งดงามและอ่อนช้อยผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ลักษณะเด่นของวัดก็คือ การตกแต่งพระอุโบสถด้วยลวดลายปูนปั้นสีขาวและความแวววาวของกระจกสีเงิน ตามเจตนารมณ์ของอาจารย์ที่อยากให้วัดนี้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์โลกสามารถสัมผัสได้ ภายในโบสถ์ยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังฝีมือของอาจารย์เอง ที่ออกจะดูสวยแปลกตาและร่วมสมัยมาก สามารถเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี เปิดให้เข้าชมเวลา 06.30 น.-18.00 น. กรุณาแต่งกายให้สุภาพ สถานที่ตั้ง : อยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงราย 13 กม. ตรงหลักกิโลเมตรที่ 816 ถนนพหลโยธิน โทร.0-5367-3579
2พระธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของจังหวัดเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุดอยตุง เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า ครั้นเมื่อ 1,000 กว่าปีมาแล้ว ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนี้มาจากแดนไกล โดยได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) เพื่อบูชาพระมหาธาตุยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดจุดนั้นเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยที่ประดิษฐานพระมหาธาตุจึงมีชื่อเรียกว่า "ดอยตุง" องค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีอยู่ด้วยกัน 2 องค์ องค์แรกบรรจุพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และอีกองค์บรรจุพระธาตุย่อย พระธาตุดอยตุงแห่งนี้ยังถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีกุน ที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย และเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านใกล้เคียง เดินทางขึ้นมาร่วมงานกราบนมัสการองค์พระธาตุเป็นประจำทุกปี สถานที่ตั้ง : วัดพระธาตุดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โทร. 0-5376-7015-7
3.ภูชี้ฟ้า เป็นหน้าผาหินที่มีลักษณะโดดเด่น คือ คล้ายนิ้วชี้ที่ชี้ตรงออกไปยังทิศตะวันออก อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,628 เมตร จากระดับน้ำทะเล หน้าผาหินเป็นทางลาดชัน ปกคลุมด้วยหญ้า ไม้พุ่ม และโขดหิน ไม่มีไม้ใหญ่ขึ้นเลย สามารถเดินลัดเลาะไปจนถึงสุดปลายของหน้าผาที่ยื่นออกไปได้ ในช่วงเช้าตรู่หุบเขาเบื้องล่างจะปกคลุมด้วยสายหมอก ทิวทัศน์จะยิ่งงดงามเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ซึ่งภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ได้รับความนิยมมาก
4. หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ครบรอบ 72 พรรษา ที่ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ใจกลางเมืองเลยก็ว่าได้ ตัวหอเป็นสีทองอร่ามสวยงามตามแบบฉบับของอาจารย์ฯ และเมื่อถึงเวลา 19.00 น., 20.00 น. และ 21.00 น. ของแต่ละวัน จะจัดให้มีการแสดงแสง สี เสียง จากตัวหอฯ
5.ดอยแม่สลอง หากพูดถึงดอยแม่สลอง หลายคนอาจนึกถึงที่สูงๆ อากาศหนาวเย็น แต่สำหรับคอชาแน่นอนว่ายอดดอยแห่งนี้คงเป็นหนึ่งในสถานชวนฝัน ที่คุณหวังว่าสักครั้งต้องขึ้นไปเหยียบ เพราะความเลื่องชื่อว่ามีชาดี แถมบรรยากาศยังเป็นเลิศ
6.วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เป็นวัดที่เก่าแก่ในอำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นอำเภอเล็กๆ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 60 กิโลเมตร ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสนด้านทิศตะวันออก สร้างโดยพระเจ้าแสนภู เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา สูง 88 เมตร ฐานกว้าง 24 เมตร เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน
7.พระตำหนักดอยตุง เรือนไม้ 2 ชั้นบนเนินต่างระดับ สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างบ้านปีกไม้ ศิลปะล้านนากับชาเลต์แบบสวิส สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์เทือกเขาสลับซับซ้อนกัน กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อให้ผู้มาเยือนได้สักการะ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำ เพดานห้องโถงเป็นเพดานดาว ซึ่งเป็นภาพระบบสุริยะและกลุ่มดวงดาว อยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่เคยปรากฏ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 วันพระราชสมภพ รอบพระตำหนักประดับด้วยไม้ดอกนานาพันธุ์
8.เชียงรายไนท์บาซ่าร์ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย เป็นที่จำหน่ายของที่ระลึกฝีมือชาวเขาและชาวเชียงราย ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋าหลากแบบ ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ของตกแต่งบ้าน ฯลฯ ในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว พร้อมชมการแสดงจากศิลปินพื้นบ้าน เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 18.30 น. - 23.00 น.
9.สิงห์ ปาร์ค เชียงราย ชอปปิ้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากบุญรอดฟาร์ม อาทิ ชาอู่หลง น้ำผลไม้ ผลไม้อบแห้งและผลิตภัณฑ์ผักสด ผลไม้ จากเกษตรกร อาทิ เมล่อน สตรอเบอรี่ พุทรา มัลเบอรี่ ฯลฯ
10.พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรทราสถิตมหาสันติคีรี อีกสัญลักษณ์หนึ่งของดอยแม่สลอง เพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิตพระบรมธาตุฯ แห่งนี้ สร้างแล้วเสร็จปี 2539 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ที่สวยงามมาก ที่ตั้งของพระบรมธาตุฯ อยู่บนยอดดอยแม่สลอง สูงจากหมู่บ้านขึ้นไปราว 4 กม.
วัฒนธรรม ประเพณี
1.ประเพณีป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
กำหนดให้มีตั้งแต่วันที่ 13-16 เมษายน โดยการเนรมิตถนนเล่นน้ำกลางเมืองเชียงราย ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพ่อขุนเม็งรายมหาราช รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุแต่ละชุมชน ประกวดเทพีสงกรานต์ แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ขบวนแห่ ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง บนถนนเล่นน้ำคือ ถนนธนาลัย จะใช้เป็นถนนเพื่อการเล่นน้ำตลอดทั้งสาย โดยเทศบาลได้ออกแบบอุโมงค์ที่มีสายน้ำใสสะอาดพุ่งออกมาจากทั้งสองฟากถนน
รวมทั้งติดตั้งระบบน้ำพุ เพื่อสร้างสีสันบรรยากาศของความชุ่มฉ่ำของสายน้ำตลอดเทศกาล พร้อมกันนี้ได้จัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ และผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือและความเป็นสิริมงคลตามประเพณีที่ชาวล้านนาได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ตลอดทั้งเป็นการ่วมสืบสานวัฒนธรรมอันดีให้กับชนรุ่นหลัง
2.ประเพณีญี่เปงลอยกระทง
จัดขึ้น ณ สนามฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (สนาม รด.) เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยจะมีการจัดงาน 2 วัน ในวันแรกจะมีกิจกรรมลอยกระทงเล็ก การประกวดหนูน้อยนพมาศ และวันต่อมาจะมีขบวนแห่กระทงที่ยิ่งใหญ่จากสวนตุง และโคมฯ ถนนธนาลัย สู่สถานที่จัดงาน และ มีการประกวดนางนพมาศ ประกวดโคม ประกวดกระทง พร้อมการแสดงบนเวทีอย่างตระการตา
3.งานวัฒนธรรมสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เป็นการจัดงานเพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ไทย ลาว จีน พม่า เวียดนาม และกัมพูชา เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทย รวมทั้งเป็นการสานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้แนบแน่น เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นการผูกมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน อันจะนำไปสู่การขยายฐานความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีในปัจจุบันและอนาคตทางด้านการค้า การลงทุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จึงทำให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ จัดขึ้นราวปลายเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายนของทุกปี
4.ประเพณีอันเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย
เป็นขบวนแห่พระคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญๆ ของวัดต่างๆ ประดิษฐานบนบุษบกแห่ให้ประชาชนสักการะบูชาโปรยข้าวตอกดอกไม้ในบ่ายวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เพื่อเป็นศิริมงคลสำหรับเมืองเชียงราย ส่งท้ายปีเก่าที่กำลังจะผ่านไปและรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง แล้วตักบาตรในวันที่ 1 มกราคมตอนเช้ารับวันปีใหม่ ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการะบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการะบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
5.เทศกาลวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวันนี้แล้วพระภิกษุสามเณรจะต้องทำพิธีอธิษฐานพรรษา คือ อธิษฐานเพื่ออยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งที่ตนทำพิธีอธิษฐานนั้นตลอด 3 เดือนในฤดูฝน คือตั้งแต่แรม 11 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนย่อมมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้บำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษ เช่น การถวายผ้าอาบน้ำฝน การถวายจตุปัจจัยไทยธรรมและถวายเทียนพรรษา ซึ่งถือว่าเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาระหว่างพรรษา และเพื่อให้ความสว่างในเวลามีพิธีกรรมทางศาสนาในเวลากลางคืน ดังนั้นจังหวัดเชียงรายมีความตระหนักและเห็นความสำคัญจึงได้ยึดเป็นนโยบายหลัก ในการสนับสนุนส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการสืบสานประเพณีหล่อเทียนพรรษาขึ้น และจัดขบวนเทียนพรรษาอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี บริเวณสวนตุงและโคมฯ ถนนธนาลัย
6 งานตานหาพระยามังราย
ในวันที่ 26 มกราคม ของทุกปี จะเป็นวันคล้ายวันที่พญามังราย หรือ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ได้ทรงสร้างเมืองเชียงรายไว้เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.1805 เทศบาลนครเชียงราย ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลสักการะดวงพระวิญญาณพ่อขุนเม็งรายมหาราชขึ้นในวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี ณ วัดดอยงำเมือง ในงานมีกิจกรรมทางศาสนาจัดพิธีกรรมแบบล้านนา ซึ่งประกอบไปด้วย พิธีสักการะบูชาพระสถูป การสืบชะตาเมือง การทำบุญเมือง และการจัดกิจกรรมสมโภชเมือง อาทิ การฟ้อนเล็บ การฟ้อนดาบ และการตีกลองสะบัดชัย เพื่อถวายแด่องค์พ่อขุนเม็งรายมหาราช อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และการเคารพต่อดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่าน โดยพี่น้องชาวเชียงราย และพี่น้องชุมชนในเขตเทศบาลจะเข้าร่วมในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ด้วยการนำพานพุ่ม หรือพานดอกไม้เครื่องบูชาสักการะ ถวายดวงพระวิญญาณพ่อขุนเม็งรายมหาราช เพื่อความร่มเย็นของเมืองเชียงรายและความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วย
นอกจากพิธีดังกล่าวแล้ว ในช่วงปลายเดือนมกราคมของทุกปี จังหวัดเชียงรายร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการร่วมกันจัดงานกาชาดประจำปีของจังหวัดเชียงรายหรือที่นิยมเรียกกันว่า "งานพ่อขุนเม็งรายมหาราช"ซึ่งจัดขึ้นประมาณปลายเดือนมกราคมของทุกปี ภายในงานจะมีการออกร้านจัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน งานรื่นเริงต่าง ๆ การจัดจำหน่ายสินค้า อาหาร และข้าวของเครื่องใช้ ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของหวัดเชียงรายได้เป็นอย่างดี
7 งานประเพณีแห่งโคมไฟดอก ไหดอก
7 งานประเพณีแห่งโคมไฟดอก ไหดอก
จัดขึ้นเนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและเป็นวันที่เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นหลายประการ คือ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อนซึ่งพระสงฆ์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และในวันมาฆบูชานี้พระพุทธเจ้าได้แสดงพระโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เนื้อหาโดยสรุปคือ ให้ละเว้นความชั่วทุกชนิด ทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส และเมื่อวันมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบครบรอบทุกปี เทศบาลนครเชียงรายร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงได้ จัดงานประเพณีแห่โคมไฟ ไหดอก ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเพื่อให้พุทธศาสนิกชนร่วมกันสร้างบุญกุศลสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
8ประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด (ตักบาตรเที่ยงคืน)
8ประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด (ตักบาตรเที่ยงคืน)
ในครั้งอดีตเมื่อใกล้เวลาประมาณเที่ยงคืน ในคืนวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ จะมีประชาชนจำนวนมากมาร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ภายในเขตเทศบาลนครเชียงราย ตามถนนสายต่าง ๆ จำนวนหลายร้อยรูป โดยเรียกวันดังกล่าวว่า"วันเป็งปุ๊ด" และมีประวัติ ความเป็นมาสืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พระมหาอุปคุตซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนาได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติที่ใต้สะดือทะเลแล้วแปลงกายเป็นสามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลกเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุตแล้วบุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ จะมีโชคลาภวาสนาร่ำรวยเป็นเศรษฐีและบังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนวันเป็งปุ๊ด ถือเป็นประเพณีล้านนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เพราะว่าแต่ละปีอาจมีวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ เพียงแค่ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้งเท่านั้น หลายคนจึงเฝ้ารอที่จะมาทำบุญตักบาตรในวันดังกล่าว เทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดงานประเพณีตักบาตรวันเป็งปุ๊ดเพื่อให้คงอยู่คู่วัฒนธรรมล้านนาของชาวเชียงรายสืบไป
9ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
9ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
คือ การทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำว่า เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่าในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แล้วจึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสะนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทวโรหนะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้นและเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่ เทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดงานประเพณี "ตักบาตรเทโว" เพื่อสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกปี
วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558
อาหารพื้นเมือง
แกงอ่อม
ถือเป็นอาหารยอดนิยมอย่างหนึ่งในบรรดาอาหารเหนือทั้งหลาย โดยเฉพาะในเทศกาลงานเลี้ยงโอกาสพิเศษต่าง ๆ แกงอ่อมเป็นแกงที่ใช้เนื้อได้ทุกประเภท เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่
ข้าวซอย
เป็นอาหารของไทลื้อ ที่นำมาเผยแพร่ในล้านนาหรือภาคเหนือ ตามตำรับเดิมจะใช้พริกป่นผัด
โรยหน้าด้วยน้ำมัน เมื่อมาสู่ครัวไทยภาคเหนือก็ประยุกต์ใช้พริกแกงคั่วใส่กะทิลงไปกลายเป็น
เคี่ยวให้ข้น ราดบนเส้นบะหมี่ ใส่เนื้อหรือไก่ กินกับผักกาดดอง หอมแดงเป็นเครื่องเคียง


แกงโฮะ
คำว่า โฮะ แปลว่า รวม แกงโฮะก็คือแกงที่นำเอาอาหารหลายอย่างมารวมกัน
สมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารหลายอย่างที่เหลือจากงานบุญมาผัดรวมกัน
แต่ปัจจุบันใช้เครื่องปรุงใหม่ทำก็ได้หรือจะเป็นของที่ค้างคืนและนำมาปรุงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
แกงโฮะเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายมีขายกันแทบทุกร้านอาหารพื้นเมืองในภาคเหนือ

ขนมจีนน้ำเงี้ยว
หรือขนมเส้นหมากเขือส้ม เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทใหญ่ เดิมใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว
เป็นหลัก ต่อมาคนพื้นเมืองดัดแปลงมาใช้เส้นขนมจีนแทน กินกับถั่วงอก ผักกาดดอง เพิ่มรสชาติความอร่อยยิ่งขึ้น

แกงฮังเล
เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไทใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลมาจากอาหารพม่า
ในอดีต เป็นแกงที่ทำได้ง่าย ใส่พริกแห้ง ผงแกงฮังเล มะเขือเทศ และเนื้อ แล้วนำมาผัดรวมกัน

น้ำพริกอ่อง
เป็นน้ำพริกขึ้นชื่อของภาคเหนือ ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่องคือ มีสีส้มของมะเขือเทศและพริกแห้ง การกินน้ำพริกอ่องต้องมีผักจิ้ม เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
อาหารทุกชนิดจะรับประทานร่วมกับข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่งใส่ในกระติ๊บข้าว อาหารอื่น ๆ
ใส่ในถ้วย อาหารทั้งหมดจะนำไปวางบนขันโตก ซึ่งเป็นภาชนะใส่อาหารที่ทำจากไม้สักกลึงให้ได้รูป
ขนาดพอดีกับการนั่งรับประทานบนพื้นบ้าน
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือล้วนผ่านการปรุงแต่ง ดัดแปลงทั้งรสชาติและวัตถุดิบจากพื้นบ้านและ
จากกลุ่มชนต่าง ๆ เป็นสำรับอาหารทางวัฒนธรรมของภาคเหนือที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในหมู่
คนไทยและชาวต่างชาติ
อาหารภาคเหนือและสูตรการทำ
อาหารภาคเหนือ..ต้มยำปลาช่อน (ดั้งเดิม)
ส่วนผสม
- เนื้อปลาช่อน 300 กรัม
- ตะไคร้หั่นแฉลบ 3 ท่อน- ใบมะกรูดฉีก 5 ใบ
- หอมแดงเผา 3 หัว
- กระเทียมเผา 5 กลีบ
- พริกแห้งเผา 3 เม็ด
- น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะขามเปียก 3 ช้อนโต๊ะ
- ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ 3 ช้อนโต๊ะ
- ข่าหั่นแว่นๆ 3 แว่น
- เห็ดฟาง 200 กรัม
- น้ำซุป 4 ถ้วยตวง
- น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำปลาช่อนมาล้างให้สะอาด
2. โขลกพริกกับเกลือให้ละเอียด ใส่หอมแดง กระเทียม โขลกให้ละเอียดอีกครั้ง
3. ตวงน้ำซุปใส่หม้อ ใส่เครื่องที่โขลก คนจนละลาย ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ตั้งไฟพอเดือด ใส่ปลา ต้มต่อจนกระทั่งปลาสุก ใส่เห็ดฟาง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก ชิมรสตามชอบ พอเดือดอีกครั้งใส่ผักชีฝรั่งคนพอทั่ว ยกลง ตักใส่ชาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)