แกงอ่อม
ถือเป็นอาหารยอดนิยมอย่างหนึ่งในบรรดาอาหารเหนือทั้งหลาย โดยเฉพาะในเทศกาลงานเลี้ยงโอกาสพิเศษต่าง ๆ แกงอ่อมเป็นแกงที่ใช้เนื้อได้ทุกประเภท เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่
ข้าวซอย
เป็นอาหารของไทลื้อ ที่นำมาเผยแพร่ในล้านนาหรือภาคเหนือ ตามตำรับเดิมจะใช้พริกป่นผัด
โรยหน้าด้วยน้ำมัน เมื่อมาสู่ครัวไทยภาคเหนือก็ประยุกต์ใช้พริกแกงคั่วใส่กะทิลงไปกลายเป็น
เคี่ยวให้ข้น ราดบนเส้นบะหมี่ ใส่เนื้อหรือไก่ กินกับผักกาดดอง หอมแดงเป็นเครื่องเคียง


แกงโฮะ
คำว่า โฮะ แปลว่า รวม แกงโฮะก็คือแกงที่นำเอาอาหารหลายอย่างมารวมกัน
สมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารหลายอย่างที่เหลือจากงานบุญมาผัดรวมกัน
แต่ปัจจุบันใช้เครื่องปรุงใหม่ทำก็ได้หรือจะเป็นของที่ค้างคืนและนำมาปรุงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
แกงโฮะเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายมีขายกันแทบทุกร้านอาหารพื้นเมืองในภาคเหนือ

ขนมจีนน้ำเงี้ยว
หรือขนมเส้นหมากเขือส้ม เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทใหญ่ เดิมใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว
เป็นหลัก ต่อมาคนพื้นเมืองดัดแปลงมาใช้เส้นขนมจีนแทน กินกับถั่วงอก ผักกาดดอง เพิ่มรสชาติความอร่อยยิ่งขึ้น

แกงฮังเล
เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไทใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลมาจากอาหารพม่า
ในอดีต เป็นแกงที่ทำได้ง่าย ใส่พริกแห้ง ผงแกงฮังเล มะเขือเทศ และเนื้อ แล้วนำมาผัดรวมกัน

น้ำพริกอ่อง
เป็นน้ำพริกขึ้นชื่อของภาคเหนือ ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่องคือ มีสีส้มของมะเขือเทศและพริกแห้ง การกินน้ำพริกอ่องต้องมีผักจิ้ม เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
อาหารทุกชนิดจะรับประทานร่วมกับข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่งใส่ในกระติ๊บข้าว อาหารอื่น ๆ
ใส่ในถ้วย อาหารทั้งหมดจะนำไปวางบนขันโตก ซึ่งเป็นภาชนะใส่อาหารที่ทำจากไม้สักกลึงให้ได้รูป
ขนาดพอดีกับการนั่งรับประทานบนพื้นบ้าน
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือล้วนผ่านการปรุงแต่ง ดัดแปลงทั้งรสชาติและวัตถุดิบจากพื้นบ้านและ
จากกลุ่มชนต่าง ๆ เป็นสำรับอาหารทางวัฒนธรรมของภาคเหนือที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในหมู่
คนไทยและชาวต่างชาติ
อาหารภาคเหนือและสูตรการทำ
อาหารภาคเหนือ..ต้มยำปลาช่อน (ดั้งเดิม)
ส่วนผสม
- เนื้อปลาช่อน 300 กรัม
- ตะไคร้หั่นแฉลบ 3 ท่อน- ใบมะกรูดฉีก 5 ใบ
- หอมแดงเผา 3 หัว
- กระเทียมเผา 5 กลีบ
- พริกแห้งเผา 3 เม็ด
- น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะขามเปียก 3 ช้อนโต๊ะ
- ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ 3 ช้อนโต๊ะ
- ข่าหั่นแว่นๆ 3 แว่น
- เห็ดฟาง 200 กรัม
- น้ำซุป 4 ถ้วยตวง
- น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำปลาช่อนมาล้างให้สะอาด
2. โขลกพริกกับเกลือให้ละเอียด ใส่หอมแดง กระเทียม โขลกให้ละเอียดอีกครั้ง
3. ตวงน้ำซุปใส่หม้อ ใส่เครื่องที่โขลก คนจนละลาย ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ตั้งไฟพอเดือด ใส่ปลา ต้มต่อจนกระทั่งปลาสุก ใส่เห็ดฟาง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก ชิมรสตามชอบ พอเดือดอีกครั้งใส่ผักชีฝรั่งคนพอทั่ว ยกลง ตักใส่ชาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น